1. ประเมินสภาพแวดล้อมในสตูดิโอ
การตรวจสอบสภาพแวดล้อมรอบห้องว่าจะต้องมีการจัดการกับแสงรอบตัวอย่างไรเป็นสิ่งสำคัญสิ่งแรกที่ต้องทำ เนื่องจากแสงไฟทั้งหมดในห้องจะส่งผลต่อฉากและภาพรวมของแสงในรูปภาพ โดยต้องตรวจเช็กให้ดีถึงอุปกรณ์ให้แสงสว่างภายในห้องทั้งหมด เช่น หลอดไฟเป็นฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดไส้? แสงไฟเป็นโทนอุ่นหรือเย็น? ไฟเป็นจุดเดียวหรือกระจายโดยแผงอ่อน? ซึ่งแสงทั้งหมดนี้ล้วนมีคุณสมบัติเฉพาะตัวทั้งในเรื่องของความสว่าง ความนุ่มนวล และอุณหภูมิที่ส่งผลต่อการจัดไฟในสตูดิโอ รวมถึงต้องดูทิศทางแสงไฟธรรมชาติจากหน้าต่าง หรือช่องแสงให้ดี พยายามอย่ายืน หรือ Set การถ่ายรูปในจุดที่มีแสงแดดตกกระทบโดยตรง
2. ให้ความสำคัญกับอุณหภูมิสี
คนทั่วไปอาจไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องนี้ แต่สำหรับช่างภาพมืออาชีพจะรู้กันดีว่าหนึ่งในสิ่งที่ท้าทายการจัดแสง คืออุณหภูมิของสีที่แตกต่างกันไป โดยพูดให้เข้าใจได้ง่ายก็เหมือนกับอุณหภูมิสีของหลอดไฟที่ถูกวัดเป็นหน่วยเคลวินที่แม้จะเป็นเฉดสีขาว หรือเหลืองที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันแค่นิดเดียว แต่กลับส่งผลต่อแสงที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งการวัดค่าอุณหภูมิสีจะสามารถช่วยดูได้ว่าภาพที่ถ่ายออกมานั้นไม่ได้มีสีเพี้ยนที่แตกต่างจากธรรมชาติมากเกินไป เช่น การติดเหลือง หรือติดฟ้า ที่เรามักเห็นเป็นประจำ ซึ่งกล้องโดยทั่วไปก็จะมีชนิดของแสงสำหรับการปรับค่าสมดุล เช่น แสงกลางวัน แสงในร่ม แสงภาพใต้หลอด หรือแสงภายใต้เมฆหม่น ซึ่งการปรับภาพให้ตรงกับแสงธรรมดาจะทำให้ได้สีที่ตรงกับแสงที่ตามองเห็นได้มากขึ้น
3. เริ่มต้นด้วย Key Light
ในการถ่ายรูปกลางแจ้งจะมีดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสงหลัก แต่สำหรับการจัดไฟในสตูดิโอแล้ว Key Light คือแหล่งกำเนิดแสงที่ทำหน้าที่เป็นแสงหลักส่องไปยังวัตถุหรือตัวบุคคล โดยมักตั้งอยู่ด้านหลังของกล้อง หรืออาจจะถูกจัดเอียงจากวัตถุจากด้านซ้าย หรือด้านขวา ประมาณ 10-45 องศา แล้วแต่ว่าต้องการเงาแบบไหน โดยเสริมด้วยการปรับแสงเป็น Soft light ด้วย Light Modifier หรือ Soft Box เพื่อให้แสงที่ตกมากระทบใบหน้า เบาลง สีผิวนวลมากยิ่งขึ้น
4. ใช้เงาให้เป็นประโยชน์
ตามปกติแล้วการมีแสงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งให้แสงสว่างที่ส่งผลดีเท่านั้น แต่แสงสว่างย่อมทำให้เกิดเงาตามมา ซึ่งแม้ในบางครั้งเงาอาจทำให้ภาพที่ต้องการออกมาไม่สวยงามตรงใจ แต่หากศึกษาวิธีจัดไฟในสตูดิโอเพื่อปรับเปลี่ยนตำแหน่งไฟเล็กน้อย ก็จะสามารถเปลี่ยนวิถีการตกของเงา ทำให้รูปภาพมีมิติสวยงามมากขึ้นได้ ซึ่งการจะจัดแสงและเงาให้สวยได้ดังใจ หากไม่ใช่มืออาชีพก็อาจต้องลองปรับไฟไปเรื่อยเพื่อดูว่าต้องทำมุมกี่องศา หรือต้องใช้ไฟกี่ตัว ยิงจากมุมไหน เพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ เช่น การจัดไฟยิงตรงไปที่ใบหน้าด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้เกิดเงาที่อีกด้านของใบหน้าจะทำให้เงาที่ตกกระทบมักจะมีลักษณะหยาบกระด้าง ช่วยเพิ่มความลึกลับให้แก่ภาพถ่ายบุคคลได้มากขึ้น
5. เว้นระยะห่าง ป้องกันแสงสะท้อน
ในบางครั้งเราอาจเคยเห็นรูปที่มีเงาสะท้อนจากหน้าผาก หรือจุดสว่างในดวงตา ซึ่งอาจเกิดจากการจัดแสงที่อยู่ใกล้เลนส์มากเกินไป จนทำให้เกิดลำแสงสะท้อนกลับมาที่กล้องโดยตรง ดังนั้นจึงควรเว้นระยะในการถ่ายรูปให้กล้อง ไฟ และวัตถุบุคคลที่ต้องการถ่ายอยู่ห่างกันออกมา โดยวิธีจัดไฟในสตูดิโอในตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุด คือ มีไฟหลักที่ด้านหนึ่งของกล้องและมีไฟเสริมอยู่อีกด้านหนึ่ง เพื่อกระจายแสงและป้องกันเอฟเฟกต์แสงที่อาจย้อนกลับมายังเลนส์กล้องโดยตรง
แม้จะมีความรู้ให้พอสามารถลองจัดไฟเองได้แล้ว แต่การจัดไฟสตูดิโอก็ต้องอาศัยความคุ้นเคย การฝึกฝน รวมถึงคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สิ่งสำคัญคือหมั่นเรียนรู้และทดลองจัดไฟเมื่อมีโอกาส ซึ่งบางคนอาจไม่มีเวลาเพียงพอในการฝึกฝนหรือทดลอง ทำให้ต้องมองหาผู้ช่วยที่ไว้ใจได้
หมดห่วงเรื่องจัดแสง! เพราะ Solove Wedding ให้บริการสตูดิโอถ่ายภาพพร้อมช่างภาพครบวงจร ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี ในราคาค่าใช้จ่ายไม่บานปลาย เพื่อให้ภาพของคุณออกมาสวยงาม สร้างความทรงจำล้ำค่าได้มากที่สุด สามารถเข้ามาติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลได้เลยที่ เบอร์โทรศัพท์ 085-2446491 หรือ Line Official @solove